เมนู

ลัทธาลักขณปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหา
ต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจ้าผู้มีปรีชา อันว่าศรัทธานี้มีลักษณะกี่
ประการ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ศรัทธานี้มีลักษณะ 2
ประการคือ สัมปสาทลักขณสัทธาประการ 1 สัมปักขันทลักขณสัทธาประการ 1 ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการซักว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ประกอบด้วยปรีชา สัมปสาทลักขณสัทธานี้เป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าสัมป-
สาทลักขณสัทธานั้นเมื่อจะบังเกิดนั้นข่มขี่เสียซึ่งนิวรณธรรม ให้ดวงจิตนั้นผ่องใส อนาวิลํ ไม่
ขุ่นมัวไปด้วยมลทิน เมื่อจะรักษาศีลให้ทานสวนาการฟังพระสัทธรรมเทศนา และจำเริญเมตตา
ภาวนา จิตนั้นมีสภาวะผ่องใสอย่างนี้ได้ชื่อว่าสัมปสาทลักขณสัทธา ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาอุปไมย
ไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะพิตรพระราชาสมภาร เปรียบปาน
ดังสมเด็จบรมจักรพรรดิราชอันยกพลจตุรงคนิกรลีวาศไปสู่ประเทศแห่งหนึ่ง จึงข้ามแม่น้ำน้อย
นั้นไปด้วยพลหัตถีช้างมา ปรากฏพลบทจรเดินลำลอง ตกว่าท้องน้ำนั้นก็ขุ่นมัวนักหนา พอ
สมเด็จบรมจักรพรรดิราชนั้นอยากจะเสวยอุทกังเป็นกำลัง จึงมีพระราชโองการสั่งให้ตักเอา
อุทกังอันขุ่นมัว ชาวพนักงานกลัวพระราชอาญา จึงตักอุทกังขุ่นนั้นมาใส่ในพระเต้าแก้ว แล้วน้ำ
นั้นก็ผ่องใสในทันที จึงเอาน้ำในพระเต้าแก้มณีถวายในทันใดนั้น ความนี้ฉันใด สัมปสาท-
ลักขณสัทธานี้ อุปมาดุจพระเต้ามณีกำจัดเสียซึ่งเปือกตมอันขุ่นมัวคือตัวนิวรณธรรมให้สิ้นไป
อุทกังก็ผ่องใส ได้แก่ดวงจิตอันมิได้ติดด้วยนิวรณธรรม คือ โลโภ โทโส โมโห จิตปราศจากโทษ
แล้วก็ผ่องใส อันว่าสัมปสาทลักขณสัทธามีลักษณะดุจเปรียบมาฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปัญญาปรีชา อันว่าสัมปักขันทลักขณสัทธานี้อย่างไรเล่า
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
อันว่าสัมปักขันทลักขณสัทธานี้ ได้แก่พระยติโยคาวจรอันมีจิตผ่อนให้เบาจากราคาทิกิเลส ก็ได้

ธรรมวิเศษคือ โสดาปัตติมรรคผล และสกิทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผล
ได้วิมุตติธรรมฉะนี้ ก็มีจิตแล่นไปในโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และได้มรรคแล้ว
จิตแล่นไปเพื่อจะกระทำให้ได้ผล และได้ผลแล้วยังมิได้มรรคผลอันใด ก็กระทำความเพียรเพื่อ
จะให้ได้มรรคและผลนั้น นี่แหละชื่อว่าสมปักขันณสัทธา ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจมหาเมฆอันใหญ่อันมากมาเห็นแม่น้ำนั้นก็ชะงักอยู่มิอาจจะข้ามไปได้ อญฺญตโร ปุริโส ยังมี
บุรุษผู้หนึ่งนั้นไซร้บมิได้ปรากฏนามและโคตร โจงกระเบนขัดเขมรโดดโลดโผนลง ก็ข้ามไปได้ถึง
ฝั่งฟากโพ้น คนเหล่านั้นก็โจนลงในแม่น้ำนั้น เพราะเห็นเพื่อนข้ามได้ ก็ข้ามตามกันไปถึงฝั่งได้สิ้น
เพราะดูเยี่ยงกันข้ามตามกัน ยถา ฉันใดก็ดี อุปไมยดุจพระโยคาวจรเจ้า ที่เห็นเพื่อนกันมีจิต
พ้นจากราคะไปได้ ก็มีน้ำใจแล่นไปในที่จะได้พระโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
แม้ยังบมิได้ก็กระทำความเพียรไป เพื่อจะให้รู้ซึ่งธรรมอันยังไม่รู้ เพียงไปเพื่อจะทำให้แจ้งซึ่ง
ธรรมอันยังไม่แจ้ง เปรียบดังบุรุษอันข้ามน้ำตามกัน และสัมปักขันทลักขณสัทธานี้ มีลักษณะ
ดุจอุปมานี้ ขอถวายพระพร อนึ่งก็สมด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระทศพลญาณ โปรดประ-
ทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ดังนี้ว่า
สทฺธาย ตรติ โอฆํ อปฺปมาเทน อณฺณวํ
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ ปญฺญาย ปริสุชฌตีติ ฯ

กระแสพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระโยคาวจรจะข้ามโอฆะทั้ง 4 ไปพ้นได้ด้วยสัมปักขันท-
ลักขณสัทธา จะข้ามไปให้พ้นมหาสมุทรสงสารได้ด้วยไม่ประมาทลืมตน จะข้ามไปให้พ้น
จากกองทุกข์นี้ด้วยมีวิริยะความเพียร จะบริสุทธิ์สิ้นกิเลสตัณหา ปญฺญาย ด้วยเฉทลักขณ-
ปัญญาอันตัดกิเลส และมิให้บาปธรรมอันข้องขัดเหลือเศษอยู่ในสันดานของอาตมานั้นได้
โดยนัยดังวิสัชนามาฉะนี้ นี่แหละโปรดประทานธรรมเทศนาไว้ฉะนี้ ขอถวายพระพร
ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทรารธิบดีมีพระทัยท้าวเธอหรรษา จึงมีพระราช
โองการตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรในกาลบัดนี้
สัทธาลักขณปัญหา คำรบ 10 จบเท่านี้

วิริยลักขณปัญหา ที่ 11


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสปุจฉาด้วยลักษณแห่ง
วิริยะว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า อันว่าวิริยะนั้นเล่ามีลักษณะเป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าวิริยะนี้มี
ลักษณะว่าอุปถัมภนาการค้ำชูไว้ มิให้กองกุศลธรรมทั้งหลายสิ้นเสื่อมสูญไป ของถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
เหมือนเรือนอันเก่าชำรุดทรุดเซ ปตนฺเต อันจะล้มไป เขาจึงเอาไม้เข้าค้ำจุนไว้ มิให้เรือน
เก่าตีเสนขาดนั้นล้มลง ช่วยปะทะปะทังค้ำจุนไว้ ยถา มีครุวนาฉันใด วิริยะก็อุปถัมภ์ค้ำชูไว้ซึ่ง
กุศลธรรมในสันดานอันมีจิตเป็นกุศลมิให้เสื่อมไปได้ ดุจตะม่อไม้จุนเรือน ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินทร์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมา
ให้ยิ่งไปกว่านี้ก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจ
บรมกษัตริย์เสด็จไปปราบอรินทร์ราชด้วยเสนาเป็นอันมาก ก็มิอาจจะรุกรบหมู่อรินทร์อันน้อยได้
อันดับนั้นไป จึงมีพระราชโองการให้เสนาไปแต่น้อย ตั้งตัวนายไปตรวจตราตามหน้าที่ เรียงตัว
กันเป็นกองอุดกองหนุน กำชับกำชาเป็นอันดี ก็เข้ากระโจมตีเสนาอันมากมายให้พ่ายแพ้ไปอาศัย
ตั้งกองอุดกองหนุนและกองตรวจตรา ยถา มีครุวนาฉันใด วิริยะมีลักษณะค้ำชูไว้ซึ่งกองกุศลมิ
ให้เสื่อมได้ อุปมาดุจเสนน้อยมีกาองหลังตรวจอุดหนุนค้ำชู ยังหมู่เสนาเป็นอันมากให้กระ
จัดกระจายพ่ายแพ้ไปนั้น ต้องด้วยพระพุทธฎีกาสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์อนาวรณญาณ
ตรัสประทานธรรมเทศนาไว้ดังนี้ วิริยพโล ภิกฺขเว อริยสาวโก อกุสลํ ปชหติ กุสลํ ภาเวติ
สาวชฺชํ ปชหติ อนาวชฺชํ ภาเวติ สทฺธมฺมา น ปริหายนฺตีติ
กระแสดพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวโก พระอริยสาวกย่อมฝักใฝ่ในวิริยพละมีเพียรเป็นกำลังยังกอง
อกุศลให้สูญเสื่อมไป แล้วให้กุศลธรรมจำเริญสุกใสไพโรจน์ ละเสียซึ่งสิ่งอันเป็นโทษกระทำ
แต่ที่หาโทษมิได้นั้น น ปริหายนฺติ มิให้สูญเสียจากพระสัทธรรม นี่แหละสมเด็จพระสรรเพชญ์
พุทธเจ้า โปรดไว้ฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงฟังก็มีพระทัยชื่นชมภิรมย์รับคำว่า พระผู้
เป็นเจ้าช่างกล่าวอุปมา ฟังดูก็สมควรในกาลบัดนี้
วิริยลักขณปัญหา คำรบ 11 จบเท่านี้